ประชาสัมพันธ์โครงการประชารัฐปลูกข้าวโพดหลังนา

ประชาสัมพันธ์โครงการประชารัฐปลูกข้าวโพดหลังนา

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าว 70 ล้านไร่ ผลผลิต 32.63 ล้านตันข้าวเปลือก ตลาดมีความต้องการเพียง 30.88 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งเกินความต้องการไป 1.75 ล้านตันข้าวเปลือก และในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ มีความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 ล้านตัน แต่มีปริมาณผลผลิตในประเทศ 5 ล้านตัน และผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าข้าวนาปรัง ดังนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,003 กก./ไร่ ต้นทุน 4,624.53 บาท/ไร่ กำไร 3,690.34 บาท/ไร่ ส่วนข้าวนาปรัง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 666 กก./ไร่ ต้นทุน 4,895.17 บาท/ไร่ กำไร 306.29 บาท/ไร่
นายนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จ.เชียงใหม่กล่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินงานโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นมิติใหม่ของการทำงานภาคการเกษตร
โดยทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมทำงานในระดับพื้นที่ มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง เพื่อปรับสมดุลปริมาณการผลิตการตลาดของข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง ยั่งยืน และการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้น้ำเพียงครึ่งหนึ่งของการปลูกข้าว อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 ล้านตัน แต่มีปริมาณผลผลิตในประเทศ 5 ล้านตัน
ซึ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพในการผลิตสินค้า ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยมีเกษตรกรเป้าหมายทั่วประเทศ 150,000 ครัวเรือน พื้นที่ 2 ล้านไร่ 33 จังหวัด และสำหรับในส่วนของภาคเหนือตอนบน จะดำเนินการส่งเสริมในพื้นที่เหมาะสม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่และพะเยา
วิธีดำเนินการ
– ดำเนินการตามแนวทางประชารัฐ
– มีการตกลงกับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์และผู้รับซื้อผลผลิต โดยรับซื้อตามมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ ในราคากิโลกรัมละ 8 บาท ที่ความชื้น 14.5% และราคากิโลกรัมละ 5-6 บาท ที่ความชื้น 25-30% โดยสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นจุดรวบรวม/รับซื้อผลผลิต และเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์
– ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการการผลิตตามระบบส่งเสริมการผลิตแบบแปลงใหญ่
– เจ้าหน้าที่และภาคเอกชน (บริษัทเมล็ดพันธุ์) ร่วมให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยี/ถ่ายทอดความรู้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอดฤดูกาลผลิตตั้งแต่การปลูก – การเก็บเกี่ยว
– กรมชลประทานดูแลด้านการบริหารจัดการน้ำ
– มีสินเชื่อเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร
– มีประกันความเสี่ยงให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติ
– คุณสมบัติของเกษตรกร ที่จะเข้าร่วมโครงการ ต้องมีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะและขึ้นทะเบียนเป็นหัวหน้าครัวเรือนในทะเบียนเกษตรกร(ทบก.01) ของกรมส่งเสริมการเกษตร
– ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา พฤศจิกายน 2561 -15 มกราคม 2562
เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่านโครงการสานพลังประชารัฐข้าวโพดหลังฤดูทำน

ที่มา https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/819822